วันเสาร์ที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558


บันทึกอนุทินครั้งที่ 3

บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดประสบการณ์ความคิดสร้างสรรค์สำหรับเด็กปฐมวัย
เวลาเรียน   วันอังคาร      เวลา 15:00 – 17:30 น.
วันพฤหัสบดี  เวลา 15:00 – 16:40 น.
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์กฤตธ์ตฤณน์ ตุ๊หมาด

ความรู้ที่ได้รับในการเรียนการสอนอาทิตย์ที่ 3

วันที่ 20 ม.ค.2558

การจัดประสบการณ์ความคิดสร้างสรรค์สำหรับเด็กปฐมวัย
 ศิลปะ คือ งานช่างฝีมือเป็นงานที่มนุษย์ใช้สติปัญญาสร้างสรรค์ขึ้นด้วยความประณีต วิจิตบรรจง ฉะนั้น งานศิลปะจึงไม่ใช่สิ่งที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติแต่เป็นผลงานที่มนุษย์สร้างขึ้นมาใหม่
ศิลปะคือ ความงาม (ทางกาย ทางใจ) รูปทรง การแสดงออก

*** ศิลปะเป็นสิ่งที่มนุษย์สร้างสรรค์เพื่อให้เกิดความงามและความพึงพอใจ***

ศิลปะคือ….
  -Art  หมายถึง มาจากภาษาลาดิน ว่า Ars ทักษะ หรือความชำนาญ หรือความสามารถพิเศษ
 -ศิลปะในภาษาไทย มาจากภาษาสันสกฤตว่า ศิลปะ
  -ภาษาบาลีว่าลิปป มีความหมายว่า ฝีมืออันยอดเยี่ยม

ปรัชญาศิลปศึกษา
-มุ่งสนับสนุนความคิดสร้างสรรค์
-เป็นเครื่องมือในการแสดงออก และใช้ความคิดสร้างสรรค์
-ให้ความสำคัญกับกระบวนการสร้างสรรค์งาน
-เน้นความไวในการรับรู้อารมณ์ ความคิดจากสิ่งที่มองเห็น
-ความรู้สึกที่มีอยู่เบื้องหลังผลงาน
-สนับสนุนให้เรียนรู้ ด้วยการค้นคว้า ทดลองสิ่งใหม่ๆ
-นำไปพัฒนาชีวิตด้านอื่นๆได้

ความสำคัญของศิลปะสร้างสรรค์สำหรับเด็กปฐมวัย
-ตอบสนองความต้องการของเด็กปฐมวัย
 -ชอบวาดรูป ขีดๆ เขียนๆ
-เด็กมีความคิด จินตนาการ
-เด็กถ่ายทอดความรู้สึกนึกคิด ที่บางครั้งไม่อาจพูดหรืออธิบายได้
 -เด็กต้องการ การสนับสนุนของผู้ใหญ่
-เด็กต้องการกำลังใจ การสร้างความเชื่อมั่น และความภาคภูมิใจ


ความสำคัญของการจัดประสบการณ์ศิลปะสร้างสรรค์สำหรับเด็กปฐมวัย
-เป็นพื้นฐานทางการศึกษาที่สำคัญสำหรับเด็กปฐมวัยด้านร่างกาย อารมณ์ สังคม และสติปัญญา
-ช่วยจัดสรรประสบการณ์ที่มีผลต่อการเรียนรู้ให้กว้างมากขึ้น
-ช่วยพัฒนาเด็กเป็นรายบุคคล
-ช่วยส่งเสริม / กระตุ้นความคิดสร้างสรรค์

ทฤษฏีที่เกี่ยวข้องกับศิลปะสร้างสรรค์
ทฤษฏีพัฒนาการ
 -พัฒนาการทางศิลปะของโลเวนเฟลด์
ทฤษฏีที่เกี่ยวข้องกับความคิดสร้างสรรค์
 -ทฤษฏีโครงสร้างทางสติปัญญาของกิลฟอร์ด Guilford
 นักจิตวิทยาชาวอเมริกัน  ศึกษาเกี่ยวกับการวิเคราะห์ของสติปัญญา
-เน้นเรื่องความคิดสร้างสรรค์  -ความมีเหตุผล  -การแก้ปัญหา
ความสามารถของสมอง  แบ่งออกเป็น 3 มิติ
มิติที่ 1 เนื้อหา
เกี่ยวกับข้อมูลหรือสิ่งเร้าที่เป็นสื่อที่เป็นการคิด
สองรับข้อมูลเข้าไปคิดพิจารณา 4 ลักษณะ ภาพ สัญลักษณ์ ภาษา พฤติกรรม
มิติที่ 2 วิธีการคิด
แสดงถึงลักษณะการทำงานของสมองใน 5 ลักษณะ
-การรู้จัก การเข้าใจ  -การจำ  -การคิดแบบอเนกนัย    -การคิดแบบเอกนัย   -การประเมินค่า
มิติที่ 3 ผลของการคิด
แสดงถึงผลที่ได้จากการทำงานของสมองจากมิติที่ 1 และมิติที่ 2
มี 6 ลักษณะ  หน่วย จำพวก ความสัมพันธ์ ระบบ การแปลงรูป  การประยุกต์
ทฤษฏีโครงสร้างทางสติปัญญาของกิลฟอร์ด
สรุป เป็นทฤษฏีเกี่ยวกับโครงสร้างทางสติปัญญา  ทำให้ทราบถึงความสามารถของสมองที่แตกต่างกันถึง 120 ความสามารถตามแบบจำลองโครงสร้างทางสติปัญญาในลักษณะ 3 มิติ คือ เนื้อหา 4 มิติ วิธีการคิด 5 มิติ  และผลทางการคิด 6 มิติ  รวมความสามารถทางความคิดสร้างสรรค์ด้วย คือ วิธีคิดแบบอเนกนัย  เป็นการคิดหลายทิศทาง  หลายแง่มุม คิดได้กว้าง ซึ่งลักษณะการคิดนี้ จะนำไปสู่การประดิษฐ์คิดค้นสิ่งที่แปลกใหม่
ทฤษฏีความคิดสร้างสรรค์ของทอร์แรนซ์  (Torrance)
นักจิตวิทยา และนักการศึกษาชาวอเมริกัน เสนอแนวคิดเกี่ยวกับความคิดสร้างสรรค์ว่า
-ความคล่องแคล่วในการคิด
 -ความยืดหยุ่นในการคิด
 -ความริเริ่มในการคิด
แบ่งลำดับความคิดสร้างสรรค์ เป็น 5 ขั้น
ขั้นการค้นพบความจริง  เป็นขั้นเริ่มต้น ค้นพบสาเหตุ
ขั้นการค้นพบปัญหา  เป็นขั้นที่สามารถคิดได้และเกิดความเข้าใจปัญหา
ขั้นการตั้งสมมติฐาน  พยายามแก้ไขปัญหา หาทางออกโดยการตั้งสมมติฐาน
ขั้นการค้นพบคำตอบ   เป็นการทดลองสมมติฐาน เพื่อหาคำตอบ
ขั้นตอบรับผลจากการค้นพบ  ทดสอบสมมติฐานและสรุปสมมติฐาน เพื่อการแก้ปัญหาหรือทางออกที่ดีที่สุด
     สรุป เป็นกระบวนการของความรู้สึกไวต่อปัญหา หรือสิ่งที่ขาดหายไป แล้วเกิดความพยายามในการสร้างแนวคิด ตั้งสมมติฐาน  ทดสอบสมติฐาน และเผยแพร่ผลที่ได้ให้ผู้อื่นรับรู้  ขั้นความคิดสร้างสรรค์นี้มีลักษณะคล้ายคลึงกับขั้นการแก้ปัญหา ทางวิทยาศาสตร์ จึงเรียกว่า กระบวนการแก้ปัญหาอย่าสร้างสรรค์
 ทฤษฏีความรู้สองลักษณะ (สมอง สองซีก)
เป็นทฤษฏีที่ได้รับความสนใจ เกี่ยวกับการทำงานของสมองมนุษย์
การทำงานของสมองสองซีก ต่างกัน
 สมองซีกซ้าย      ทำงานส่วนความคิดที่เป็นเหตุผล
สมองซีกขวา      ทำงานส่วนจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์
ทฤษฏีการคิดสองลักษณะ
 แพทย์หญิงกมลพรรณ ชีวพันธ์ศรี กล่าวว่า คนเรามีสมอง 2 ซีก
สมองซีกขวา ซึ่งเป็นส่วนของจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์ สามารถพัฒนาได้มากในช่วง 4-7 ปี
สมองซีกซ้าย เป็นส่วนของความคิดที่มีเหตุผล พัฒนาในช่วง 9-12 ปี เจริญเติบโตช่วง 11-13 ปี
   แนวคิดเกี่ยวกับสมองสองซีกได้ถูกนำไปใช้ประโยชน์และพัฒนาการจัดการศึกษา คือ ผู้เรียนได้เรียนรู้และทำกิจกรรมแบบบูรณาการ มีการเรียนรูแบบวัฏจักรการเรียนรู้ หรือ 4 MAT และมีการทำกิจกรรมที่หลากหลาย

  ทฤษฏีพหุปัญญาของการ์ดเนอร์  (Gardner)
ผู้เชี่ยวชาญทางด้านจิตวิทยาการศึกษา ชาวอเมริกัน ศึกษาเกี่ยวกับความหลากหลายของสติปัญญา ผู้คิดค้นทฤษฏีพหุปัญญา
  ทฤษฏีพหุปัญญาจำแนกความสามารถเอาไว้ 9 ด้าน ได้แก่  ความสามารถด้านภาษา  ความสามารถด้านดนตรี   ความสามารรถด้านกีฬาและการควบคุมการเคลื่อนไหวของร่างกาย   ความสามารถด้านมนุษย์สัมพันธ์  ความสามารถด้านธรรมชาติศึกษา   ความสามารถในการคิดพลิกแพลง   ความสามารถด้านตรรกะวิทยาและคณิตศาสตร์   ความสามารถด้านมิติสัมพันธ์   ความสามารถด้านจิตวิเคราะห์               
ลักษณะสำคัญของทฤษฏีพหุปัญญา
    ปัญญามีลักษณะเฉพาะด้าน  ทุกคนมีปัญญาแต่ละด้าน ทั้ง 9 ด้านมากน้อยแตกต่างกัน และสามารถพัฒนาให้สูงขึ้นได้ และปัญญาต่างๆสามารถทำงานร่วมกันได้ และมีความหลากหลาย
ทฤษฏีโอศา Auto
เดวิส Davis  และ ซัลลิแวน Sullivan
ความคิดสร้างสรรค์นั้นมีอยู่ในมนุษย์ทุกคน และสามารถพัฒนาได้ การพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ตามรูปแบบโอศา มีลำดับการพัฒนา 4 ขั้นตอน
ขั้นตอนที่ 1 ความคิดตระหนัก
การพัฒนาปรีชาญาณ การรู้จักและเข้าใจตนเอง การมีสุขภาพจิตที่สมบูรณ์ มีชีวิตที่ดีกว่าเดิม
ขั้นตอนที่ 2 ความเข้าใจ
มีความรู้เนื้อหาในเรื่องบุคลิกภาพ  เทคนิควิธีการความคิดสร้างสรรค์
ขั้นตอนที่ 3 เทคนิควิธี
การระดมสมอง การคิดเชิงเปรียบเทียบ การฝึกจินตนาการ เทคนิคในการฝึกความคิด
ขั้นตอนที่ 4 การตระหนักในความจริงของสิ่งต่างๆ
เปิดกว้างรับประสบการณ์ต่างๆมีความคิดริเริ่มและผลิตผลงานด้วยตนเอง

พัฒนาการทางศิลปะ
 เคลล็อก Kellogg  ศึกษางานขีดๆเขียนๆของเด็กปฐมวัยและจำแนกได้เป็น 4 ขั้นตอน
ขั้นที่ 1 ขั้นขีดเขี่ย Placement Stage  เด็กวัย 2 ขวบ
ขีดๆเขียนๆตามธรรมชาติ เป็นเส้นตรงบ้างโค้งบ้าง โดยปราศจากการควบคุม
ขั้นที่ 2 ขั้นเขียนเป็นรูปร่าง  Shape Stage  เด็กวัย 3 ขวบ
ขีดๆเขียนเป็นรูปร่างมากขึ้น เขียนวงกลมได้ ควบคุมมือกับตาให้สัมพันธ์กันมากขึ้น
ขั้นที่ 3 ขั้นรู้จักออกแบบ  Design Stage  เด็กวัย 4 ขวบ
ขีดๆเขียนๆที่เป็นรูปร่างเข้าด้วยกัน วาดโรงเส้นหรือวาดสี่เหลี่ยมได้
ขั้นที่ 4 ขั้นการวาดแสดงเป็นภาพ  Pictorial Staga   เด็กวัย 5 ขวบขึ้นไป
เริ่มแยกแยะวัสดุที่เหมือนกันได้ รับรู้ความเป็นจริง ควบคุมการขีดเขียนได้ วาดสามเหลี่ยมได้

พัฒนาการด้านร่างกาย
  กีเซลล์และคอร์บีน สรุปพัฒนาการด้านการเคลื่อนไหวของเด็กปฐมวัยตามลักษณะพฤติกรรมทางการใช้กล้ามเนื้อใหญ่และกล้ามเนื้อเล็ก
ด้านการตัด
  อายุ 3-4 ปี ตัดกระดาษเป็นชิ้นส่วนเล็กได้
  อายุ 4-5 ปี ตัดกระดาษเป็นเส้นตรงได้
  อายุ 5-6 ปี ตัดกระดาษตามเส้นโค้งหรือรูปต่างๆได้
การขีดเขียน
  อายุ 3-4 ปี เขียนรูปวงกลมตามแบบได้
  อายุ 4-5 ปี เขียนรูปสี่เหลี่ยมจตุรัสตามแบบได้
  อายุ 5-6 ปี เขียนรูปสามเหลี่ยมตามแบบได้
การพับ
  อายุ 3-4 ปี พับและพับสันกระดาษสองทบตามแบบได้
  อายุ 4-5 ปี พับและพับสันกระดาษสามทบตามแบบได้
  อายุ 5-6 ปี พับและพับสันกระดาษได้คล่องแคล่ว
การวาด
  อายุ 3-4 ปี วาดภาพคนได้
  อายุ 4-5 ปี วาดส่วนประกอบต่างๆของคนได้
  อายุ 5-6 ปี วาดเป็นมิติได้

เรียน 22 ม.ค. 2558
   ทำกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์  การวาดมือของตนเองใส่ลงในกระดาษโดยการที่ถ้าตรงไหนตัดกันให้ระบายสีที่ต่างกัน ซึ่งหนูก็ได้สร้างสรรค์ผลงานออกมาได้ดังนี้


การสร้างสรรค์ผลงานศิลปะจากมือ



การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้

     เนื้อหาทฤษฎีเกี่ยวกับการจัดประสบการณ์ศิลปะสร้างสรรค์สำหรับเด็กปฐมวัยนำมาเป็นแนวทางในการเรียนการสอนว่าเราจะสอนศิลปะอะไรให้กับเด็กให้เด็กเกิดการเรียนรู้ที่ดีนำไป ประยุกต์ใช้กับเด็กได้ กิจกรรมการวาดมือหรือการสร้างสรรค์ศิลปะจากมือนั้นจะทำให้เด็กรู้ถึงประโยชน์ของส่วนต่างๆของร่างกายว่าร่างกายของเรานั้นสามารถนำมาสร้างสรรค์เป็นสิ่งต่างๆมากมาย

การประเมินการเรียนการสอน
ประเมินตนเอง>>> เข้าเรียนตรงต่อเวลา ตั้งใจฟังอาจารย์สอนและทำกิจกกรมที่ได้รับมอบหมายอย่างเต็มที่
ประเมินเพื่อน>>> ตั้งใจฟังอาจารย์สอนอย่างเต็มที่และเพื่อนแต่ละคนก็สร้างสรรค์ผลงานของตัวเองออกมาได้สวยงามมาก
ประเมินครูผู้สอน>>> แต่งกายสุภาพเรียบร้อย มีกิจกรรมเกี่ยวกับศิลปะมาให้เด็กได้ทำอย่างสนุกและสร้างสรรค์มากเพราะเป็นการสอนให้เด็กรู้ว่าร่างกายของเรานั้นนำมาใช้ประโยชน์ได้และนำมาสร้างสรรค์เป็นงานศิลปะได้เช่นกัน
  




บันทึกอนุทินครั้งที่ 2


                                                               บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดประสบการณ์ความคิดสร้างสรรค์สำหรับเด็กปฐมวัย
เวลาเรียน   วันอังคาร      เวลา 15:00 – 17:30 น.
                 วันพฤหัสบดี  เวลา 15:00 – 16:40 น.
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์กฤตธ์ตฤณน์ ตุ๊หมาด


ความรู้ที่ได้รับในการเรียนการสอนอาทิตย์ที่ 2

วันที่ 13 ม.ค. 58
วันนี้อาจารย์เริ่มเรียนโดยการที่แจกกระดาษนักศึกษาคนละ1แผ่นเพื่อที่จะให้วาดภาพตนเองตามจินตนาการซึ่งหนูก็สร้างสรรค์ออกมาได้ ดังนี้


วาดภาพตนเองตามจินตนาการ




การประเมินจากภาพ
1.      สังเกตกระบวนการในการวาดภาพ
2.      ห้ามเปรียบเทียบผลงานของเด็ก
3.      สังเกตชิ้นงาน ในส่วนของรายละเอียดต่างๆในการใช้ความรู้สึกที่สื่ออกมาในการวาดภาพ

** ไม่ตัดสินที่ความสวยงาม เพราะเด็กไม่ใช่ผู้ใหญ่ **


^^ กิจกรรมท้ายคาบ ^^
เขียนในหัวข้อศิลปะสร้างสรรค์โดยทำเป็น Mind Map




วันที่ 15 ม.ค. 58

VDOเรื่อง ด. เด็ก ช. ช้าง


สิ่งที่ได้รับจากการดูวีดีโอเรื่อง ด.เด็ก ช. ช้าง
ครูไม่ควรปิดกั้นเด็กโดยการใช้คำพูดที่ทำให้เด็กเสียใจหรือการเอาผลงานของเด็กมาแสดงในสิ่งที่ไม่  เหมาะสม
ครูควรให้แรงเสริมทางบวกกับเด็ก
- ครูไม่ควรเอาผลงานของเด็กไปเปรียบเทียบกันและต้องเดินดูเด็กขณะที่เขาทำกิจกรรมต่างๆ
-คำพูดของครูต้องระมัดระวังเพราะอาจจะทำให้เด็กมีปมด้อยในอนาคตทำให้เด็กไม่มีความมั่นใจใน ตนเอง



กิจกรรมการนำเสนอ Pretes






การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
สามารถนำเอาการวาดภาพก่อนเริ่มเรียนไปใช้กับเด็กได้โดยที่ครูจะกำหนดให้ว่าให้วาดภาพตัวเองตามจิตนาการซึ่งแล้วแต่ว่าเด็กจะจิตนาการออกมาแบบไหนเช่นเป็นนางฟ้า สัตว์ หรือสิ่งต่างๆที่เด็กอยากจะเป็นและการทำงานกลุ่มก็สามารถนำมาปรับใช้ด้วยเช่นกันจะทำให้เด็กรู้จักการเข้าสังคมการทำงานเป็นทีมฝึกความสามัคคีต่างๆ

การประเมินการเรียนการสอน
ประเมินตนเอง>>>แต่งกายเรียบร้อย เข้าเรียนตรงต่อเวลา ตั้งใจทำกิจกรรมในห้องเรียนตามที่ได้รับมอบหมายอย่างเต็มที่
ประเมินเพื่อน>>> ไม่คุยกันเสียงดัง ตั้งใจฟังอาจารย์สอนอย่างเต็มที่
ประเมินครูผู้สอน>>> แต่งกายสุภาพเรียบร้อย พูดจาชัดเจน สอนสนุกทำให้นักศึกษาไม่เครียด มีการพูดเพิ่มเติมจากที่นำเสนอหน้าชั้นเรียนทำให้นักศึกษาเข้าใจมากยิ่งขึ้น